The Thai-German Society Thailand
Geschichte – Ziel und Aufgaben
Die Thai-Deutsche Gesellschaft wurde im Jahre 1960 von Thailändern und Deutschen gemeinsam in Bangkok als gemeinnütziger Verein gegründet, damals noch unter dem Namen Thai-Deutsche Kulturgesellschaft, um die Freundschaft und die Beziehungen zwischen Thailand und Deutschland durch kulturelle Veranstaltungen zu pflegen und zu vertiefen. Damit wurde an die zu Beginn der 1930er Jahren von der Firma B.Grimm initierte Tradition der Siamesisch-Deutschen Gesellschaft in Deutschland während der Weimarer Republik angeknüpft.
Aus dem Umfeld dieses Vereins ging später – nicht zuletzt durch das Mäzenatentum des verstorbenen Geschäftsmannes und Mitglieds Carl Werner Drewes – das 1989 offiziell unter der Dachorganisation Thai-Deutsche Kulturstiftung (TDKS) eröffnete Thai-Deutsche Zentrum hervor und die Thai-Deutsche Kulturgesellschaft wurde schließlich im Jahre 2000 in Thai-Deutsche Gesellschaft (TDG) umbenannt. Auf dem Gelände des Thai-Deutschen Zentrums in der Soi Goethe befinden sich heute das Goethe-Institut, die Thai-Deutsche Gesellschaft (TDG), der Verein der ehemaligen Thai-Studenten in Deutschland (VTD), das DAAD Informationszentrum. Auch weitere Vereine haben dort eine dauerhafte Bleibe gefunden. In dem Zentrum befindet sich das von TDG-Mitgliedern aufgebaute Archiv der Geschichte der thai-deutschen Beziehungen, das nun durch die TDKS verwaltet und betreut wird. Im thai-deutschen Zentrum stehen auch Restaurants sowie Clubräume, ein Schwimmbad und ein Gymnastikraum zur Verfügung.
In der TDG-Generalversammlung 2015 hat die TDG einen seit 2013 angefangenen Prozess der Neustrukturierung und Neuausrichtung offiziell eingeleitet, nicht zuletzt um einen breiteren Kreis von Interessenten anzusprechen und auch um verstärkt für jüngere Mitglieder attraktiv zu werden. Gemäß der aktuellen Satzung hat die Gesellschaft die Aufgabe, die kulturellen und wissenschaftlichen Beziehungen zwischen Thailand und Deutschland zu pflegen und zu vertiefen. Hierzu gehört der wechselseitige Austausch von Kultur und Geschichte. Dies geschieht in Form von thematisch-orientierten Veranstaltungen und freundschaftlicher Begegnung zwischen Thailändern und Deutschen. Die Gesellschaft wendet sich vor allem an Thailänder und deutschsprachige Europäer.
วัตถุประสงค์และขอบข่ายการทำงานของสมาคมไทย-เยอรมัน
สมาคมไทย-เยอรมัน ก่อตั้งในพ.ศ. 2503 มีที่มาจาก สมาคมสยาม-เยอรมัน ริเริ่มโดยสมาชิกของครอบครัวบีกริมร่วมกับชาวสยามและชาวเยอรมันช่วยกันก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในระยะแรก สมาคมไทย-เยอรมันใช้ชื่อว่า “สมาคมวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน” มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมไมตรีและกระชับความสัมพันธ์และระหว่างประเทศไทยและประเทศเยอรมันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยคนไทยและคนเยอรมันพบปะสังสรรค์ทำกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมร่วมกัน
ภายหลังต่อมา สมาคมฯ ได้เข้าร่วมกับองค์กรไทย-เยอรมันอื่นๆ ที่ดำเนินการโดย มูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน Thai-Deutsche Kulturstiftung – TDKS) ซึ่งก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2532 ได้รับทุนจากเงินส่วนตัวของอดีตพ่อค้าชาวเยอรมันจากเมืองฮัมบวร์กซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมไทย-เยอรมัน ชื่อ คาร์ล แวร์เนอร์ เดรเวส (Carl Werner Drewes) เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง ศูนย์ไทย-เยอรมัน (Thai-Deutsches Zentrum) ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน และตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา สมาคมวัฒนธรรมไทย-เยอรมันได้ปรับชื่อใหม่เป็น “สมาคมไทย-เยอรมัน” (Die Thai-Deutsche Gesellschaft – TDG) ศูนย์ไทย-เยอรมัน จึงเป็นที่รวมของสำนักงานขององค์กรฝ่ายไทยและฝ่ายเยอรมันหลายองค์กร รวมถึงสถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน หรือสถาบันเกอเธ่อ สมาคมนักเรียนเก่าเยอรมันในพระบรมราชูปถัมภ์ (Verein der ehemaligen Thai-Studenten unter Schirmherrschaft Seiner Majestät des Königs – VTD) และศูนย์ข้อมูลขององค์การ DAAD (Deutscher Akademischer Austauschdienst) ด้วย
ณ ศูนย์ไทย-เยอรมันแห่งนี้ มีหอจดหมายเหตุเก็บเอกสารทางประวัติศาสตร์และความเป็นมาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-เยอรมันซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยสมาชิกของสมาคมไทย-เยอรมัน ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบและดำเนินงานโดยมูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน นอกจากนี้ ศูนย์ไทย-เยอรมันยังเป็นสถานทีสังสรรค์ระหว่างชาวไทยและชาวเยอรมัน มีร้านอาหาร สระว่ายน้ำ รวมทั้ง สถานที่ออกกำลังกายสำหรับสมาชิกด้วย
ในการประชุมใหญ่ประจำปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) สมาคมไทย-เยอรมันได้ปรับระเบียบข้อบังคับของสมาคม ขยายวัตถุประสงค์ ขอบเขต ตลอดจนวิธีการดำเนินงานของสมาคมใหม่ ในทิศทางที่ได้เริ่มไว้แล้วตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) เพื่อให้สมาคมให้เป็นที่สนใจในแวดวงที่กว้างขึ้นสำหรับสมาชิกทั่วไปและสมาชิกรุ่นเยาว์ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่ได้ขยายให้ครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะกิจกรรมด้านวัฒนธรรม แต่เพิ่มกิจกรรมทางวิชาการด้วย เป็นการสื่อวิธีการมองโลก วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทยให้แก่ทั้งชาวเยอรมันและชาวไทย ทั้งหมดนี้ สมาคมไทย-เยอรมัน ดำเนินงานในรูปของพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความติดเห็นระหว่างชาวไทยและชาวเยอรมัน มีการจัดเสวนาประชุมทางวิชาการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตลอดจนกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่นๆ และร่วมมือกับหน่วยงานไทย เยอรมันอื่นๆ กับทั้งได้ขยายขอบข่ายการรับสมาชิกมีทั้งชาวไทย ชาวเยอรมันและชาวต่างประเทศที่สนใจวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมเยอรมัน
หากท่านต้องการรู้เรื่องเกี่ยวกับเรา เกี่ยวกับสมาคมไทย-เยอรมัน ท่านสามารถติดต่อเราได้ทาง
อีเมล: tdg-thailand@gmail.com หรือ
โทร. 090 985 9165 หรือ
เข้ามาเยี่ยมเราได้ที่ ศูนย์ไทย-เยอรมัน ซอยเกอเธ่อ แยกอรรถการประสิทธิ์ สาทรใต้ ซอย 1 กรุงเทพฯ 10120 ตามเวลานัดหมาย